วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561


           หลักการแต่งกลอนสุภาพ

           กลอนสุภาพรุ่งเรืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  กวีที่มีฝีมือยอดเยี่ยมทางกลอน คือ สุนทนภู่  และเป็นผู้คิดสัมผัสในเพิ่มขึ้นเป็น แบบฉบับ เพื่อความไพเราะของกลอน 
กลอนสุภาพเรียกอีกอย่างว่า กลอนแปด หรือ กลอนตลาด  
            -   แต่ละบทมี ๒ บาท แต่ละบาทจะมี ๒วรรค  
            -   แต่ละวรรค จะมี  ๘ คำ (ปกติจะใช้คำได้ ได้ ระหว่าง ๗-๘ คำ) 
            -   บทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก มี ๒ วรรค คือ วรรคสดับ (วรรคต้น) และวรรครับ 
            -   บทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท มี ๒ วรรค คือ วรรครอง และวรรคส่ง







ฉันทลักษณ์กลอนสุภาพ

             - พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๒ 
             - พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓ และสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๔  
             - สัมผัสระหว่างบทพยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทถัดไป





การสัมผัส

          สัมผัสเป็นลักษณะสำคัญของคำประพันธ์ไทย ลักษณะสัมผัสมีดังนี้
               - สัมผัสพยัญชนะหรือสัมผัสอักษร คือ มีพยัญชนะต้นของคำเหมือนกัน
               - สัมผัสสระ คือ ถ้ามีสระเดียวกัน หากมีตัวสะกดต้องเป็นเสียงพยัญชนะสะกดในมาตรเดียวกัน 
               - สัมผัสใน คือ สัมผัสที่อยู่ในวรรคเดียวกัน มีทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ
               - สัมผัสนอก คือ สัมผัสระหว่างคำ ที่อยู่ต่างวรรคกันเป็นสัมผัสบังคับของกลอน
               - สัมผัสระหว่างบท คือ ถ้าแต่วงกลอนมากกว่า ๑ บท  ต้องมีการส่งสัมผัสให้คำสุดท้ายของวรรคส่งในบทต่อไปสัมผัสคำสุดท้ายของวรรครับในบทถัดไปนอกจากนี้ยังมีการสัมผัสอื่นดังนี้
               - สัมผัสซ้ำเสียง คือ รับส่งสัมผัสด้วยคำที่ออกเสียงเหมือนกัน
               - สัมผัสเลือน คือ รับส่งด้วยเสียงสระสั้นยาวต่างกัน เช่น ส่งเสียง อาย รับด้วย อั
               - ชิงสัมผัส คือ ใช้เสียงตรงกับคำที่ส่งสัมผัสก่อนตำแหน่งที่รับสัมผัสจริง

เสียงของคำท้ายวรรคของกลอนสุภาพ

           เสียงของคำสุดท้ายในแต่ละวรรคของกลอนมีข้อกำหนดในเรื่องเสียงของวรรณยุกต์ เป็นตัวกำหนดด้วยการกำหนดเรื่องเสียงนี้ ถือว่าเป็นข้อบังคับทาง ฉันทลักษณ์  อย่างหนึ่งของกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ อันมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
               - คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ (วรรคสดับ) วรรคต้น คำทุดท้ายใช้คำเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้ คือ นอกจากเสียงสามัญ แต่ถ้าจะใช้ก็ไม่ห้าม                         
               - คำสุดท้ายวรรคที่ ๒ (วรรครับ) คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ห้ามใช้เสียงโท,สามัญ,ตรี และวรรณยุกต์เอก ไม่มีรูป ไม่ห้าม แต่ต้องให้คำสุดท้ายของวรรคครองเป็นเสียงตรี 
               - คำสุดท้ายวรรคที่ ๓ (วรรครอง) คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวาหรือคำที่มีรูปวรรคยุกต์ 
               - คำสุดท้ายวรรคที่ ๔ (วรรคส่ง) คำสุดท้ายไม่นิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์ซึ่งอาจจะใช้คำตายเสียงตรีบ้างก็ได้

ที่มา ; http://www.digitalschool.club/digitalschool/m2/th2_2/lesson1/content1/index.php














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

           หลักการแต่งกลอนสุภาพ            กลอนสุภาพรุ่งเรืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย    กวีที่มีฝีมือยอดเยี่ยมทางกลอน ค...